สมุนไพรเพื่อสุขภาพ คืออะไร
สมุนไพรเพื่อสุขภาพ คืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร?
คำว่า สมุนไพร ตามพระ
ราชบัญญัติ หมายความถึง ยาที่ได้จากพืช สัตว์ และแร่
ซึ่งยังมิได้มีการผสมปรุง หรือแปรสภาพ (ยกเว้นการทำให้แห้ง) เช่นพืช
ก็ยังคงเป็นต้น ใบ ดอก ผล ฯลฯ ยังมิได้ผ่านขั้นตอนการแปรรูปใดๆ เช่น
การหั่น การบด การกลั่น การสกัดแยก รวมทั้งการผสมกับสารอื่นๆ
แต่ในทางการค้า สมุนไพรมักจะถูกดัดแปลงในรูปแบบต่างๆ
เช่นถูกหั่นเป็นชิ้นเล็กลง บดให้เป็นผง อัดให้เป็นแท่ง หรือปอกเปลือกออก
เป็นต้น เมื่อพูดถึง สมุนไพร คนทั่วๆ ไป
มักจะนึกถึงเฉพาะพืชที่นำมาใช้ประโยชน์ในทางยา ทั้งนี้
เพราะสัตว์และแร่มีการใช้น้อย จะใช้เฉพาะในโรคบางชนิดเท่านั้น
ความสำคัญของสมุนไพรเพื่อสุขภาพ
1. ความสำคัญในด้านสาธารณสุข
พืชสมุนไพร เป็นผลผลิตจากธรรมชาติ
ที่มนุษย์รู้จักนำมาใช้เป็นประโยชน์
เพื่อการรักษาโรคภัยไข้เจ็บตั้งแต่โบราณกาลแล้ว
เช่นในเอเชียก็มีหลักฐานแสดงว่ามนุษย์รู้จักใช้พืชสมุนไพรมากว่า 6,000 ปี
แต่หลังจากที่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้ามากขึ้น
มีการสังเคราะห์ และผลิตยาจากสารเคมี ในรูปที่ใช้ประโยชน์ได้ง่าย
สะดวกสบายในการใช้มากกว่าสมุนไพร
ทำให้ความนิยมใช้ยาสมุนไพรลดลงมาเป็นอันมาก
เป็นเหตุให้ความรู้วิทยาการด้านสมุนไพรขาดการพัฒนา
ไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร
ในปัจจุบันทั่วโลกได้ยอมรับแล้วว่าผลที่ได้จากการสกัดสมุนไพร
ให้คุณประโยชน์ดีกว่ายา
ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบกับในประเทศไทยเป็นแหล่ง
ทรัพยากรธรรมชาติ อันอุดมสมบูรณ์ มีพืชต่าง ๆ
ที่ใช้เป็นสมุนไพรได้อย่างมากมายนับหมื่นชนิด
ยังขาดก็แต่เพียงการค้นคว้าวิจัยในทางที่เป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้นเท่านั้น
ความตื่นตัวที่จะพัฒนาความรู้ด้านพืชสมุนไพร จึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่ง
มีการเริ่มต้นนโยบายสาธารณสุขขั้นมูลฐานอย่างเป็นทางการของประเทศไทยในปี
พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มโครงการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเข้าในแผนพัฒนาการสาธารณสุข
ตามแผนพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2520-2524)
ต่อเนื่องจนถึงแผนพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 7 (พ.ศ.
2535-2539) โดยมี
กลวิธีการพัฒนาสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยในงานสาธารณสุขมูลฐาน คือ
(1)
สนับสนุนและพัฒนาวิชาการและเทคโนโลยีพื้นบ้านอันได้แก่ การแพทย์แผนไทย
เภสัช กรรมแผนไทย การนวดไทย สมุนไพร และเทคโนโลยีพื้นบ้าน
เพื่อใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา สุขภาพของชุมชน
(2)
สนับสนุนและส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของตนเอง โดยใช้ สมุนไพร
การแพทย์พื้นบ้าน การนวดไทย ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน
ให้เป็นไปอย่างถูกต้องเป็นระบบสามารถปรับประสานการดูแลสุขภาพแผนปัจจุบันได้
อาจกล่าวได้ว่าสมุนไพรสำหรับสาธารณสุขมูลฐานคือสมุนไพรที่ใช้ในการส่งเสริม
สุขภาพ และการรักษาโรค/อาการเจ็บป่วยเบื้องต้น
เพื่อให้ประชาชนสามารถพึ่งตนเองได้มากขึ้น
2. ความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ
ในปัจจุบันพืชสมุนไพรจัดเป็นพืชเศรษฐกิจชนิด
หนึ่งที่ต่างประเทศกำลังหาทางลงทุนและคัดเลือกสมุนไพรไทยไปสกัดหาตัวยาเพื่อ
รักษาโรคบางโรคและมีหลายประเทศที่นำสมุนไพรไทยไปปลูกและทำการค้าขายแข่งกับ
ประเทศไทย สมุนไพรหลายชนิดที่เราส่งออกเป็นรูปของวัตถุดิบคือ กระวาน
ขมิ้นชัน เร่ว เปล้าน้อยและมะขามเปียกเป็นต้น
ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้ตลาดต่างประเทศยังคงมีความต้องการอีกมาก
และในปัจจุบันกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสนใจในการศึกษาเพิ่มขึ้นและมีโครงการวิจัย
บรรจุไว้ในแผนพัฒนาระบบการผลิต
การตลาดและการสร้างงานในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ.
2530-2534)
เพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาคุณภาพและแหล่งปลูกสมุนไพรเพื่อส่งออก
โดยกำหนดชนิดของสมุนไพรที่มีศักยภาพ 13 ชนิด คือ มะขามแขก กานพลู
เทียนเกล็ดหอย ดองดึง เร่ว กระวาน ชะเอมเทศ ขมิ้น จันทร์เทศ ใบพลู พริกไทย
ดีปลี และน้ำผึ้ง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น